ภาชนะรับแรงดัน
บริการตรวจรับรองภาชนะรับแรงดัน (PRESSURE VESSEL) บริการตรวจถังลม (AIR TANK)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ความหมายตามที่ระบุในกฎหมาย
กฎกระทรวงฯ ของกระทรวงแรงงาน
ภาชนะรับความดัน (pressure vessel) หมายความว่า ภาชนะปิดที่มีความดันภายในภาชนะและภายนอกภาชนะแตกต่างกันมากกว่า 50 กิโลปาสคาลขึ้นไป และให้หมายความรวมถึงถังปฏิกิริยา (reactor) แต่ไม่รวมถึงภาชนะบรรจุก๊าซทนความดัน
ส่วนกฎกระทรวงฯ ของอุตสาหกรรม
ภาชนะรับแรงดัน (pressure vessel) หมายความว่า
(1) ภาชนะปิดที่มีความกดดันภายในภาชนะและภายนอกภาชนะแตกต่างกันมากกว่า 1.5 เท่าของความดันบรรยากาศที่ระดับน้ําทะเล และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 103 มิลลิเมตร หรือ
(2) ถังปฏิกิริยา (reactor)
ตรวจสอบค่าความหนาผนังถังรับเเรงดัน
การตรวจสอบด้วยสายตา (Visual Inspection)
ตรวจสอบสภาพภายนอกของถังลม รอยบุ๋ม รอยแตกร้าว รอยรั่ว หรือการกัดกร่อน
ตรวจสอบสภาพของฝาปิด วาล์ว ท่อ และอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยรั่วหรือชำรุด
ตรวจสอบสภาพของป้ายข้อมูลบนถังลม ครบถ้วน
ตรวจสอบสภาพโครงสร้างการยึด ที่มั่นคงเเข็งเเรง
Safety Valve เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการปกป้องอุปกรณ์ ระบบ และกระบวนการจากแรงดันที่สะสมมากเกินไป โดยจะปล่อยแรงดันส่วนเกินโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือสถานการณ์ที่เป็นอันตราย Safety Valve
การตรวจสอบเเละทดสอบ Pressure Vessel / Air Receiver Tank
ความถี่ในการตรวจสอบ
1) ต้องจัดให้มีการทดสอบความปลอดภัยในการใช้ภาชนะรับความดัน ที่มีปริมาตรตั้งแต่ 1ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป หรือมีความดันตั้งแต่ 500 กิโลปาสคาล ขึ้นไป ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งาน
2) ต้องจัดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้ภาชนะรับความดัน ที่มีปริมาตรน้อยกว่า 1 ลูกบาศก์เมตร หรือมีความดันน้อยกว่า 500 กิโลปาสคาล โดยการตรวจพินิจด้วยสายตาและการวัดความหนาโดยวิศวกรอย่างน้อย 5 ปีต่อหนึ่งครั้ง
วาล์วนิรภัย (Safety Valve)
เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานควรทดสอบการทำงานของวาล์วนิรภัยเป็นประจำทุก 1 ปี / เปลี่ยนใหม่ทุก 5 ปี